ถั่วลายเสือ ep.5 (ความสัมพันธ์ระหว่างถั่วลายเสือที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์กับแหล่งภูมิศาสตร์)

 

รายละเอียดซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างสินค้าถั่วลายเสือที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์กับแหล่งภูมิศาสตร์

ประวัติ
                ถั่วลายเสือหรือถั่วลิสงพันธุ์กาฬสินธุ์ 2 หนึ่งในสินค้าเกษตรที่มีชื่อเสียงของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เดิมถั่วลายเสือปลูกอยู่ในพื้นที่แถบภาคอีสานและภาคกลาง มีการนำมาปลูกที่แม่ฮ่องสอน โดยกรมวิชาการเกษตร เกษตรกรจังหวัดแม่ฮ่องสอนนิยมปลูกกันมากในหลายพื้นที่ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนประวัติพันธุ์ถั่วลายเสือหรือถั่วลิสงพันธุ์กาฬสินธุ์ 2 สถานีทดลองพืชไร่กาฬสินธุ์ได้รวบรวมพันธุ์ถั่วลิสงไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2516 ในชื่อว่า Kalasin Accession # 431 โดยนำเข้าจากสถาบันวิจัยพืชนานาชาติกึ่งร้อนและแห้งแล้ง (ICRISAT) มีชื่อเดิมว่า lCG 1703SB NCAc17127 ปีพ.ศ.2522-2529 ทำการคัดเลือกพันธุ์เปรียบเทียบพันธุ์เบื้องต้น เปรียบเทียบมาตรฐาน เปรียบเทียบท้องถิ่นและในไร่เกษตรกรปี พ.ศ.2530-2543 ประเมินการยอมรับของ เกษตรกร ได้รับพิจารณาให้เป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2544 ปัจจุบันมีชื่อ เรียกอื่น ๆ ว่า ถั่วพระราชทาน, ถั่วราชินี และถั่วจัมโบ้ลาย ลักษณะทั่วไป ทรงต้นเป็นพุ่ม ลำต้นสีเขียว ดอกสีเหลือง ติดฝักเป็นกระจุกที่โคนลายบนเปลือกฝักเป็นร่องลึกชัดเจน เยื่อหุ้มเมล็ดสีขาวลายขีดสีม่วงคล้าย ลายเสือโคร่ง สำหรับถั่วลายเสือถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดแม่ฮ่องสอน (กรมส่งเสริมการเกษตร: การปลูกถั่วลิสง)

ถั่วลิสงพันธุ์กาฬสินธุ์ 2 นำเข้ามาในจังหวัดแม่ฮ่องสอนโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแม่ฮ่องสอน กรมวิชาการเกษตร โดยมีการส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูกในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งขณะนั้นเกษตรกร นิยมเรียกถั่วลิสงพันธุ์กาฬสินธุ์ 2 ว่า “ถั่วลาย” ด้วยลักษณะของเมล็ดที่มีลายขีดสีม่วงอย่างเด่นชัด  แม้จะมีชื่อทางการ “ถั่วลิสงพันธุ์กาฬสินธุ์ 2” แต่กลับปลูกได้ดีในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนจนชาวบ้านเกษตรกรในพื้นที่ยึดเป็นอาชีพหลักสร้างรายได้ ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีลักษณะเป็นแอ่งระหว่างภูเขาที่มีระดับ ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 200 เมตรขึ้นไป ความสูงของพื้นที่ส่งผลให้สภาพดินทั่วไปเป็นดิน ภูเขา มีค่าความเป็นกรด-ด่างที่ระหว่าง 5.5 - 6.5 เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของถั่วลิสงพันธุ์กาฬสินธุ์ 2 มีอินทรียวัตถุปานกลางถึงสูงส่งผลให้จำนวนฝัก น้ำหนักฝักและน้ำหนักเมล็ดมีปริมาณสูงเนื้อเมล็ดถั่วแน่นและ เกิดเมล็ดลีบน้อย สภาพพื้นดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย และดินร่วนเหนียวปนทราย ทำให้ง่ายต่อการแทงเข็มลงฝักของถั่วลิสง ส่งผลให้ถั่วลิสงเจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตสูง นอกจากนี้ดินในพื้นที่ยังมีธาตุ อาหารหลักของพืชสูง ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ซึ่งธาตุอาหารดังกล่าวนั้นมีความสำคัญต่อ คุณภาพของถั่วลิสงพันธุ์กาฬสินธุ์ 2 เป็นอย่างยิ่ง โดยฟอสฟอรัสช่วยเรื่องของการติดฝัก ทำให้ได้ผลผลิตสูง ค่าโพแทสเซียมในดินบ่งชี้ถึงการสร้างแป้งในเมล็ดถั่ว และความหวานความแน่นของเนื้อถั่วลิสง ทำให้ถั่วลิสง พันธุ์กาฬสินธุ์ 2 ที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีผลผลิตสูง เนื้อแน่น และมีความหวานสูง แม้จะมีปริมาณ แคลเซียมในดินในพื้นที่ค่อนข้างต่ำแต่เนื่องจากจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีการกระจายตัวของฝนดี ฝนตกเยอะ มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี 1,419 มิลลิเมตร ทำให้ธาตุแคลเซียมสามารถซึมผ่านไปกับน้ำได้ดี ส่งผลให้เมล็ดถั่ว ลิสงพันธุ์กาฬสินธุ์ 2 มีขนาดเมล็ดใหญ่เต็มฝัก ซึ่งธาตุแคลเซียมช่วยเรื่องการสร้างเมล็ดโดยผ่านทางเปลือกของ ฝักที่อยู่ในดินโดยซึมผ่านไปกับน้ำ ด้วยการกระจายตัวของฝนดี  ความชื้นสัมพัทธ์ตลอดทั้งปีเฉลี่ย 75 เปอร์เซ็นต์ ทำให้พื้นที่เหมาะสำหรับการปลูกถั่วลายเสือ

เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนขณะนั้นนิยมจำหน่ายถั่วลิสงพันธุ์กาฬสินธุ์ 2 หรือ ถั่วลายให้กับ โรงงานต้มถั่ว ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาเมื่อปี 2553 ราคาถั่วลิสงพันธุ์กาฬสินธุ์ 2 หรือ ถั่วลายตกต่ำขายไม่ได้ราคา เกษตรกรอำเภอปางมะผ้าจึงได้นำถั่วลิสงพันธุ์กาฬสินธุ์ 2 ขายให้พ่อค้าแปรรูปถั่วคั่วในพื้นที่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งพ่อค้าได้นำถั่วลิสงพันธุ์กาฬสินธุ์ 2 ไปคั่วและลองรับประทาน ถั่วลิสงพันธุ์กาฬสินธุ์ 2 ที่คั่วแล้วมีกลิ่นหอมที่ได้จากการคั่วยังคงรสชาติหวานมันมีความกรอบและอร่อยกว่าถั่วลิสงทั่วไป จึงได้นำถั่วลิสงพันธุ์กาฬสินธุ์ 2 ที่คั่วเกลือโดยกรรมวิถีเฉพาะท้องถิ่นของจังหวัดแม่ฮ่องสอน นำไปขายตามงานแสดงสินค้า หรือจุดจำหน่ายต่างๆ โดยใช้ชื่อว่าถั่วลิสงคั่วโบราณ ซึ่งเป็นที่สนใจของผู้บริโภคเป็นจำนวนมากขณะออกงาน ได้มีผู้บริโภคชิมและรับประทานอยู่นั้นได้เอ่ยขึ้นมา ถั่วลิสงนี้มีลักษณะลายคล้ายลายเสือโคร่ง ทำให้ผู้จำหน่าย เกิดไอเดียและตั้งชื่อ “ถั่วลายเสือ” แทนถั่วลิสงคั่วโบราณกลายเป็นจุดสนใจของผู้บริโภคและนิยมเรียก “ถั่วลายเสือ” สร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดแม่ฮ่องสอนจนถึงปัจจุบัน จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีร้านค้าจำหน่ายถั่วลายเสือมากมายในจังหวัดเป็นสินค้าขายดีและเป็นของฝากประจำจังหวัดหากพูดถึง ”ถั่วลายเสือ”ทุกคนจะ นึกถึงจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นแห่งแรก

วิธีการคั่วถั่วเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ชาวไทใหญ่ยังคงอนุรักษ์ โดยมีประวัติยาวนานถึง 150 ปี “ชาวไทใหญ่”  ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในท้องถิ่นจังหวัดแม่ฮ่องสอน จากหลักฐานการบอกเล่าของ “  จเร ” คือ ผู้เรียนรู้จากผู้เฒ่าผู้แก่ชาวไทใหญ่จากประวัติแม่ฮ่องสอนและจากการศึกษาประวัติความเป็นมาของเมือง แม่ฮ่องสอนได้บ่งบอกให้ทราบว่า “ชาวไทใหญ่”  ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองแม่ฮ่องสอนนั้น  เป็นชาวไทใหญ่ ที่อพยพมาจากดินแดนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศพม่าที่เรียกกันว่า “รัฐฉาน” แถบเมือง หมอกใหม่ เมืองนาย เมืองลานเคอ และเมืองอื่นๆ แถบลุ่มแม่น้ำสาละวินเข้ามาอาศัยในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อราว พ.ศ. 2374 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาวไทใหญ่ได้เข้ามาอาศัยทำไร่ปลูกพืชตามฤดูกาลเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้วก็เดินทางกลับเข้าไปในดินแดนรัฐฉานดังเดิม ทำเช่นนี้จวบจนราว พ.ศ. 2493   จึงอพยพมาปักหลักตั้งถิ่นฐานที่บ้านปางหมู ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกอบอาชีพด้วยการปลูกพืช ทำไร่ ทำนา และใน พ.ศ.2393 เมืองเชียงใหม่ส่งเจ้าแก้วเมืองมาให้มาจับช้างป่าฝึกสอนไปเพื่อใช้งาน  เจ้าแก้วเมืองมาได้รวบรวมชาวไทใหญ่ ที่ยังอยู่กระจัดกระจายให้มาอาศัยอยู่รวมกันในบริเวณที่ตั้งเป็นเมืองแม่ฮ่องสอนปัจจุบัน   เมื่อราวปี พ.ศ. 2417 เจ้าเมืองเชียงใหม่เห็นว่าบ้านแม่ฮ่องสอนและบ้านปางหมูมีคนอาศัยอยู่มากมายแล้วสมควรยกฐานะ  ขึ้นเป็นเมืองจึงตั้งเป็นเมืองแม่ฮ่องสอนและตั้งให้ชาวไทใหญ่นามว่า “ชานกะเล ” ให้เป็นเจ้าเมืองคนแรกมีบรรดาศักดิ์เป็นพญาสิงหนาทราชาและมีเจ้าเมืองต่อมาอีก 3 คน จนเปลี่ยนเป็นระบบการบริหารราชการ แผ่นดินมาเป็นจังหวัดแม่ฮ่องสอน จากระยะเวลาอันนานร้อยกว่าปีที่ผ่านมาชาวไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ก็ยังดำรงชีวิตอยู่โดยยึดเอาวัฒนธรรมประเพณีตลอดจนความเชื่อและวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่าง “ไทใหญ่” ชาวไทใหญ่นิยมรับประทานถั่วคั่ว อาทิ ถั่วเปหล่อ ถั่วเปจ่อ ถั่วเหลืองคั่ว การคั่วถั่วของชาวไทใหญ่นั้นทำให้สุก โดยการอาศัยเกลือเม็ดเป็นส่วนประกอบในการคั่ว ต่อมาได้มีการนำถั่วลายเสือมาคั่วโดยวิธีของชาวไทใหญ่ การคั่วนั้นจะใช้เกลือช่วย ความร้อนจากเกลือทำให้ถั่วสุกเร็วขึ้นและทำให้ถั่วสุกเสมอกัน การคั่วจะใช้อุณหภูมิ สูงประมาณ 140-150 องศาเซลเซียส และใช้เวลาการคั่วไม่นาน ใช้เวลาประมาณ 3-4 นาทีต่อ 1 กระทะ ในอัตราเกลือต่อถั่วลายเสือ 4 ต่อ 1 วิธีการคั่วถั่วลายเสือนี้จะทำให้ถั่วลายเสือมีความหวานคงอยู่มีกลิ่นหอม จากการคั่วด้วยเตาฟืน ได้ถั่วลายเสือที่มีความกรอบและอร่อย

(แหล่งที่มา : http://www.taiyai.org/index.php?name=resume) 

ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ที่สัมพันธ์กับสินค้า  พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีลักษณะเป็นแอ่งระหว่างภูเขาที่มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ 200 เมตรขึ้นไป ความสูงของพื้นที่ส่งผลให้สภาพดินทั่วไปเป็นดินภูเขา มีค่าความเป็นกรด-ด่างที่ระหว่าง 5.5 - 6.5 เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของถั่วลิสงพันธุ์กาฬสินธุ์ 2 มีอินทรียวัตถุปานกลางถึงสูงส่งผลให้ จำนวนฝัก น้ำหนักฝักและน้ำหนักเมล็ดมีปริมาณสูง  เนื้อเมล็ดถั่วแน่นและเกิดเมล็ดลีบน้อย สภาพพื้นดินส่วน ใหญ่เป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย และดินร่วนเหนียวปนทราย ทำให้ง่ายต่อการแทงเข็มลงฝักของถั่วลิสง ส่งผลให้ถั่วลิสงเจริญเติบโตได้ดี และให้ผลผลิตสูง นอกจากนี้ดินในพื้นที่ยังมีธาตุอาหารหลักของพืชสูง ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ซึ่งธาตุอาหารดังกล่าวนั้นมีความสำคัญต่อคุณภาพของ ถั่วลิสงพันธุ์ กาฬสินธุ์ 2 เป็นอย่างยิ่ง โดยฟอสฟอรัสช่วยเรื่องของการติดฝัก ทำให้ได้ผลผลิตสูง ค่าโพแทสเซียมในดินบ่งชี้ถึง การสร้างแป้งในเมล็ดถั่ว และความหวานความแน่นของเนื้อถั่วลิสง ทำให้ถั่วลิสงพันธุ์กาฬสินธุ์ 2 ที่ปลูกในพื้นที่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีผลผลิตสูง เนื้อแน่น และมีความหวานสูง แม้จะมีปริมาณแคลเซียมในดินในพื้นที่ ค่อนข้างต่ำแต่เนื่องจากจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีการกระจายตัวของฝนดี ฝนตกเยอะ มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี 1,419 มิลลิเมตร ทำให้ธาตุแคลเซียมสามารถซึมผ่านไปกับน้ำได้ดี ส่งผลให้เมล็ดถั่วลิสงพันธุ์กาฬสินธุ์ 2 มีขนาดเมล็ดใหญ่เต็มฝัก ซึ่งธาตุแคลเซียมช่วยเรื่องการสร้างเมล็ดโดยผ่านทางเปลือกของฝักที่อยู่ในดินโดยซึม ผ่านไปกับน้ำด้วยการกระจายตัวของฝนดี ความชื้นสัมพัทธ์ตลอดทั้งปีเฉลี่ย 75 เปอร์เซ็นต์ ทำให้พื้นที่ เหมาะสมสำหรับปลูกถั่วลายเสือ

จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีอาณาเขตติดต่อ

- ทิศเหนือและทิศตะวันตกติดต่อกับสามรัฐของประเทศพม่า ได้แก่ รัฐฉาน รัฐกะยา และรัฐกะเหรี่ยง โดยมีแนวกั้นธรรมชาติเป็นทิวเขาถนนธงชัยตะวันตก แม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำเมย

- ทิศใต้ติดต่อกับอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก โดยมีแม่น้ำยวมและแม่น้ำงาวเป็นแนวกั้น

- ทิศตะวันออกติดต่อกับอำเภอเวียงแหง อำเภอเชียงดาว อำเภอแม่แตง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอฮอด และอำเภออมก๋อย ของจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีแนวกั้นเป็นทิวเขาถนนธงชัยกลางและตะวันออก

สนใจถั่วลายเสือ เพจ:ถั่วลายเสือตราฅนไต หรือค้นหาในช้อปปึ้ ลาซาด้า ได้เลยคร้า ไลน์ไอดี konetai ​ รับประกันความสดใหม่คั่ววันต่อวันไม่มีค้างสต็อค


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ถั่วลายเสือ ep.4 (กระบวนการปลูกถั่วลายเสือแม่ฮ่องสอน)

ถั่วลายเสือ ep.ุ6 ("ถั่วเสือซ่อนลาย" กับ "ถั่วลายเสือ" ต่างกันยังไง)

ถั่วลูกไก่ หรือถั่วชิกพี หรือถั่วหัวช้าง มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Chickpeas หรือ garbanzo beans